วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555
เนื่องจากไม่ได้มาเรียน เพราะติดไปค่ายภาษาอังกฤษจึงไปขอดูของนางสาว  ดาราวรรณ  

-อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6
วันที่ 12 มกราคม  พ.ศ.2554


-  อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มดิฉันได้


-ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มดิฉันได้ Present   คู่กับนางสาวนงลักณ์โดยไปถามคำถามกับเด็ก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5
วันที่ 4 มกราคม  พ.ศ.2555

-  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป


-สิ่งที่ข้าพเจ้าค้นคว้าเพิ่มเติมในวันนี้
        การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย    
                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4
วันที่ 29 ธัวาคม  2554

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์ที่แล้ว
ให้นักศึกษาไปดูกิจกรมวันปีใหม่ของเด็กๆที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
 สัปดาห์หน้าให้นักศึกษาPresentงานของตัวเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3
22  ธันวาคม 2554

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้วหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
- ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็ก ทั้งนี้ ครูที่จัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง และพูดภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง ควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยกลางเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาถิ่น และภาษาไทยกลางจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วยตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ครูและเด็กเรียนรู้และพัฒนาการใช้ภาษาของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ



             
งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
-ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2
วันที่15 ธันวาคม 2554

อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
-คืออธิบายเกี่ยวกับ ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
-การจัดประสบการณ์ทางภาษา  คือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาการที่แสดงออกทางพฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธีการเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสระในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูก
-การจัดประสบการณ์ มีเทคนิค  การประเมิน  รูปแบบ สื่อหลักการ ขั้นตอน

งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์โดยการตั้งคำถามถามเด็กพร้อมวีดีโอ ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมรายงานหน้าห้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1
8  ธันวาคม 2554

-วันนี้ไม่มีมีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
-งานอาจารย์สั่งสัปดาห์หน้าอาจารย์ให้เตรียมต้นดาวเรืองมากลุ่มละ1ต้น