วันอังคารที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่15
วันที่ 8 มีนาคม  2555


-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาส่งงานที่มอบหมายให้ไปทำสัปดาห์ที่แล้ว คือ Big   Book 
บัตรคำ  
-อาจารย์ได้ตรวจของนักศึกษาทุกกลุ่มโดยกลุ่มดิฉัน ต้องแก้ไขงาน 
กลุ่มดิฉันได้ไปรายงานแล้วก็มีคำแนะนำเรื่องการทำงาน
1.หน้าปกตัวหนังสือให้อยู่ในบรรทัดเดียวกัน  และให้มันอยู่ในรูปประโยค ทำให้ดูง่าย  ควรมีภาพประกอบ
2.การใช้คำถามกับเด็ก
3.การที่เด็กเขียนผิดเราไม่ควรปล่อยให้ผิดเพราะเราเป็นครูปฐมวัยควรระมัดระวัง
4.คำลงท้ายควรสรุปให้สั้นกว่านี้
  และกลุ่มไหนที่ได้แก้ไขอาจารย์ให้แก้ไขในห้องเรียนถ้าวันนี้แก้ไขไม่เสร็จให้ส่งภายในวันพรุ่งนี้ก่อนบ่าย 3 โมง





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่14
วันที่ 1 มีนาคม 2555

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำเสนอผลงานทุกกลุ่ม
-อาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ในการรายงานหรือนำเสนอผลงาน
-อาจารย์ได้มอบหมายงาน คือ ให้นำกระดาษที่อาจารย์แจกให้ในแต่ละกลุ่มไปทำหนังสือ Big  Book ในหัวข้อ  มันคืออะไร 
-อาจารย์ให้กระดาษแข็งไปทำบัตรคำ
ให้นักศึกษาส่งในสัปดาห์ถัดหน้า

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่13
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2555

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษา Present งานที่มอบหมายให้เด็กตัดรูปภาพติดลงกระดาษ   ตัวอย่างคือเธอชอบกินอะไร 
-อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในเรื่อง การรายงานหน้าชั้นเรียน 


 
การที่สังเกตเด็กและการใช้ภาษาที่เหมาะสมกับเด็ก  และการเขียนข้อความหรือบทความต้องให้ตรงกับรูปภาพที่เด็กและเราตัดแปะ

วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่12
วันที่18  กุมภาพันธ์  พ.ศ.2555

-อาจารย์ได้แจกกระดาษเพื่อให้นักศึกษาวาดรูปอะไรก็ได้หนึ่งรูป  เพื่อทำกิจกรรม รูปภาพเชื่อมคำ การวาดรูปแทนคำ
-อาจารย์ให้นักศึกษา พูดชื่อตัวเองแล้วทำท่าทางประกอบทำท่าทางของเพื่อน  แล้วทำของตัวเองเด็กจะได้การจำ การสังเกต การฟัง เวลาที่จะสอนให้เด็กรู้จักคำว่าขอบคุณ ขอโทษ เราจะใช้สื่ออะไรได้บ้าง 
เช่นใช้บทเพลงเป็นสื่อ และ เด็กใช้ภาษาเพื่อแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึกตลอดจนการทำความเข้าใจสิ่งแวดล้อมอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนการสอนจึงควรสอดคล้องกับธรรมชาติของคนเรา ดังกล่าว ดังทัศนะของภาษารวมหรือการเรียนภาษาโดยธรรมชาติ(Whole Language)ซึ่งได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายการสอนภาษาไว้ดังนี้ (Goodman and Goodman1981)

1. จุดมุ่งหมายการใช้ภาษาเน้นที่การสื่อสารอย่างมีความหมาย
2. จุดมุ่งหมายการฟังและประสบการณ์การอ่านเน้นที่การเข้าใจความหมาย
3. จุดมุ่งหมายการพูดและประสบการณ์การเขียนเน้นการสร้างหรือแสดงออกถึงความหมาย

ลักษณะของภาษา
เนื้อหาของภาษา(Language Content)ได้แก่ หัวข้อเนื้อหา เรื่องหรือความหมายของสารท่จะใช้สื่อกับคนอื่น ประกอบด้วย ชื่อของคน สัตว์ สิ่งของ เหตุการณ์ความสัมพันธ์ ดังนี้ 

เนื้อหาของภาษา

ชื่อ ชื่อเฉพาะ เช่น อาคาร  โรงอาหาร
        ชื่อทั่วไป เช่น สุนัข แมว  เป็ด

ความสัมพันธ์ บอกความเป็นอยู่ เช่น ขนมชิ้นนี้
                           บอกลักษณะ         เช่น บอลลูกใหญ่

เหตุการณ์        เวลาและเหตุผล   เช่น หิวจึงกิน
                           ความรู้ ความรู้สึก เวลา เช่น เมื่อวานนี้

รูปแบบของภาษา

เสียงสระ พยัญชนะ วรรณยุกต์ คำที่มีความหมายและซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนคือ เสียงที่เปล่งออกมาเป็นหน่วย ลำดับคำ หรือประโยค

อาจารย์สอนเรื่อง
 พยัชนะไทยมีทั้งหมด 44 ตัว
อักษรกลางมี 9 ตัว คือ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ
อักษรสูงมี 11 ตัว คือ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห
อักษรต่ำเดี่ยวมี 10 ตัว คือ ง ญ น ย ณ ร ว ม ฬ ล และอักษรต่ำคู่มี 14 ตัว
อาจารย์ให้ดุนิทาน



บันทึกการเรียรู้ครั้งที่11

บันทึกการเรียรู้ครั้งที่11

                              วันที่ 16  กุมภาพันธ์ พ.ศ.2555

อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการให้ความร่วมมืองานกีฬาสี

อาจารย์ได้พูดเรื่องการทำงานในอนาคต
อาจารย์ได้สอนในเรื่องของการทำหนังสือภาพ

      วิธีทำคือเลือกความคิดรวบยอดที่ต้องการให้เด็กมีประสบการณ์ เช่น อะไรเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า  เราก็จะหารูปภาพที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าแปะลงบนกระดาษที่เตรียมไว้

และการสรุปถ้าเราใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าไม่ระมัดระวังจะเกิดอะไรขึ้นเราก็จะให้เด็กตอบ ในการทำกิจกรรมนี้เราก็จะสังเกตเด็ก
และทุกครั้งที่ร่วมทำกิจกรรมกับเด็กควร บันทึกสิ่งที่เกิดขึ้นจากเด็กว่าเด็กให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมหรือไม่อย่างไร  และมีพฤติกรรมอย่างไร

       การสร้างภาพปริศนาคำทาย

1 เลือกหรือกำหนดสิ่งที่ต้องการให้เด็กทาย
2 วิเคราะห์ลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้หลากหลายมากที่สุด
3 เรียงลำดับลักษณะของสิ่งที่กำหนดนั้นโดยเริ่มจากลักษณะทีของหลายๆสิ่งก็มีลักษณะเช่นนั้น

เรียงลักษณะที่กว้างๆก่อน
4 นำมาจัดเรียงลำดับจากวงกว้างๆก่อนแล้วค่อยแคบๆลง
5 แต่งประโยคที่มีคำซ้ำ
อาจารย์ให้ตัวอย่างมา
เช่น ฉัน ตั้ง ชื่อ มัน ว่า ดิ้งด่อง
ดิ้งด่อง เป็น สิ่งมีชีวิต และ มี สี่ ขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า''หมา''
 หมา เป็น สิ่ง มีชีวิต และมีสี่ขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และ ตัวโตโต
 มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ช้าง"
ช้าง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา และตัวโตโต
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต  มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"วัว"
 วัว เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต และ มี เขา
ฉันตอบว่า"ไม่ใช่"

ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
มันคืออะไร

เพื่อนตอบว่า"ควาย"
 ควาย เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
ฉันตอบว่า"ใช่ ดิ้งด่อง คือ ควาย"
 ดิ้งด่อง เป็น สิ่ง มีชีวิต มี สี่ ขา ตัว โตโต มี เขา และ ชอบ แช่ โคลน
เพื่อน เก่ง จัง เลย 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่10
วันที่ 9  กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

- ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่9
วันที่ 2 กุมภาพันธ์   พ.ศ.2555

-อาจารย์ได้พูดถึงการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยว่าควรมีหลักการอย่างไร

และได้เปิดนิทานแบบ E-Book ให้นักศึกษาดู  เรื่องแม่ไก่สีแดงพร้อมวิเคราะห์ร่วมกัน

อธิบายถึงการฟังของเด็กและองค์ประกอบของภาษา

          เด็กเรียนการฟังและการพูดโดยไม่ต้องอาศัยการสอนอย่างเป็นทางการ การที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษาจะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่เมื่ออายุได้ถึงสี่หรือห้าปี
           
          องค์ประกอบของภาษา ประกอบไปด้วย 
           เสียง                  การอ่าน สัญลักษณ์การอ่าน       ระบบเสียง ตัวอักษร
          ไวยากรณ์          คำ ประโยค
           ความหมาย       คำศัพท์ ประโยคข้อความ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคคำสัั่่ง

           ภาษาประกอบด้วย  การจัดประสบการณ์ พัฒนาการ วิธีการเรียนรู้ แนวทางการจัดประสบการณ์ การจัดประสบการณ์โดยมีผู้ปกครองมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมที่ส่งเสริม นวัตกรรมทางภาษา เด็กปฐมวัย   พัฒนาการ สติปัญญา  วิธีการเรียน สมรรถณะทางภาษาและอาจารย์ได้พูดถึง

       คำกล่าวทักทายอาเซียน 10 ประเทศ

บรูไน               -  ซาลามัต ดาตังอินโดนีเซีย     -  ซาลามัต เซียง
มาเลเซีย         -ซาลามัต ดาตัง
ฟิลิปปินส์        -กูมุสตา
สิงคโปร์          -หนีห่าว
ไทย                -สวัสดี
กัมพูชา           -ซัวสเด
ลาว                 - สะบายดี
พม่า                -มิงกาลาบา
เวียดนาม        - ซินจ่าว


เพลง  Hello

Hello   Hello                     Hello     how  are   you ?
I'm   find     I'm   find        I   hope    that    you    too.

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8
วันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2555

(เครื่องแบบไมส่ได้ทำให้สมองพัฒนาดีขึ้น  แต่เครื่องแบบเป็นเครื่องสะท้อนถึงองค์กร) 

-ภาษาคือเครื่องมือในการที่จะให้พัฒนา การจัดประสบการณ์กับเด็กต้องมีอะไร  และอาจารย์ได้เปิดภาพวาดของเด็กอนุบาลให้นักศึกษาดู และได้พูดถึงการเขียนและการพูด  การฟังและการพูด    เด็กจะเรียนโดยไม่อาศัยการสอนอย่างเป็นทางการที่เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางภาษา จะทำให้เด็กเข้าใจและใช้ไวยากรณ์พื้นฐานของภาษาแม่ได้ เมื่ออายุ 4-5 ปี
-สิ่งที่ครูสอนเด็กปฐมวัย จะต้องตระหนัก และมีความรู้เพื่อนำไปใช้ในการช่วยพัฒนาการทางภาษาของเด็กคือความเข้าใจ

-ภาษาเป็นสัญลักษณ์หรือรหัส(Code)ใช้แทนสัตว์ที่มีเท้า  สิ่งของ สถานที่  กริยาอาการ  และเหตุการณ์ เช่น เด็กกินขนม
- อาจารย์ได้สอนเกี่ยวกับ  ความหมายความสำคัญของภาษา  ภาษาที่ใช้ต้องเหมาะสม  ควรชัดถ้อยชัดคำ  บทบาทของครูผู้สอน คือ ต้องเป็นแบบอย่างที่ดี

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7
วันที่ 22 มกราคม พ.ศ.2555
เนื่องจากไม่ได้มาเรียน เพราะติดไปค่ายภาษาอังกฤษจึงไปขอดูของนางสาว  ดาราวรรณ  

-อจารย์ได้เปิดวีดีโอจากเวปไซต์โทรทัศน์ครูให้นักศึกษาดู  เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้วรรณกรรมเป็นฐาน(เรื่องหนูน้อยหมวกแดง)
การเล่านิทานเขาจะใช้เทคนิคในการเล่าโดยร้องเพลงะเป็นขั้นนำก่อนเล่านิทาน
และอาจารย์ได้พูดถึงกิจกรรมหลัก  และอาจารย์ได้ถามว่าเราจะบูรณาการออกแบบกิจกรรมได้อย่างไร?   กิจกรรมสร้างสรรค์ทำให้เด็กรู้จัก ตัวละคร ฉาก และรู้จักลำดับเหตุการณ์  บทบาทครูต้องสนับสนุนเด็กให้กำลังใจเด็กเสมอ
อาจารย์ได้ใให้นักศึกษาไปหาความหมาย
ฉันทะ  วิริยะ  จิตตะ  วิมังสา  คืออะไร
และ ให้วิเคราะห์การใช้วรรณกรรมเป็นฐาน
สมัครโทรทัศน์ครูแล้วลิงค์เรื่องที่เกี่ยวกับภาษาลงบล็อค

วันจันทร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6
วันที่ 12 มกราคม  พ.ศ.2554


-  อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มดิฉันได้


-ในการเรียนการสอนวันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษา  Present  งานในรูปแบบ Powerpoint ที่นักศึกษาไปเล่านิทานให้เด็กฟัง โดยกลุ่มดิฉันได้ Present   คู่กับนางสาวนงลักณ์โดยไปถามคำถามกับเด็ก

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5
วันที่ 4 มกราคม  พ.ศ.2555

-  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทำ Powerpoint  เกี่ยวกับนิทานที่นักศึกษาไปเล่าให้เด็กปฐมวัยฟังแล้วนำเสนอสัปดาห์ถัดไป


-สิ่งที่ข้าพเจ้าค้นคว้าเพิ่มเติมในวันนี้
        การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย    
                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

 
บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4
วันที่ 29 ธัวาคม  2554

-อาจารย์ได้ให้นักศึกษาทุกคนส่งงานที่ได้รับมอบหมายในสัปดาห์ที่แล้ว
ให้นักศึกษาไปดูกิจกรมวันปีใหม่ของเด็กๆที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
 สัปดาห์หน้าให้นักศึกษาPresentงานของตัวเอง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3
22  ธันวาคม 2554

-วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษารายงาน งานที่มอบหมายไว้สัปดาห์ที่แล้วหน้าชั้นเรียนพร้อมเปิดวีดีโอ
และอาจารย์ได้อธิบายพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กแต่ละคนที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์มา
- ในการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กสองภาษา ครูควรทำความเข้าใจว่าการเรียนรู้ภาษาที่หนึ่งและการเรียนรู้ภาษาที่สองมีความแตกต่างกัน การทำความเข้าใจดังกล่าวนำไปสู่การจัดประสบการณ์ทางภาษาอย่างเหมาะสมสำหรับเด็ก ทั้งนี้ ครูที่จัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยที่พูดภาษาถิ่นเป็นภาษาที่หนึ่ง และพูดภาษาไทยกลางเป็นภาษาที่สอง ควรเป็นผู้ที่มีความสามารถในการใช้ภาษาถิ่นและภาษาไทยกลางเป็นอย่างดี
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาที่มีความหลากหลายเอื้อต่อความต้องการของเด็ก ให้เด็กเรียนรู้การใช้ภาษาถิ่น และภาษาไทยกลางจากการเข้าไปมีส่วนร่วมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาด้วยตนเองตามสถานการณ์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และสถานการณ์ที่สร้างขึ้นเพื่อให้ครูและเด็กเรียนรู้และพัฒนาการใช้ภาษาของตนเองอย่างเป็นธรรมชาติ



             
งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้ไปเล่านิทานให้เด็กฟังพร้องตั้งคำถามถามเด็ก3ข้อและบันทึกมาส่งอาจารย์
-ให้หาประวัตินักการศึกษาที่เกี่ยวกับเรื่องของภาษาส่งสัปดาห์ถัดไป

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2
วันที่15 ธันวาคม 2554

อาจารย์ได้อธิบายเกี่ยวกับรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
-คืออธิบายเกี่ยวกับ ภาษา คือ ฟัง พูด อ่าน เขียน
-การจัดประสบการณ์ทางภาษา  คือการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาการที่แสดงออกทางพฤติกรรมทั้ง4ด้าน
-วิธีการเรียนรู้ คือ การสังเกต การสัมผัส การฟัง การดมกลิ่น การลิ้มรส และถ้าจะให้อิสระแก่เด็กต้องให้อิสระในการเลือก การตัดสินใจเอง และการลองผิดลองถูก
-การจัดประสบการณ์ มีเทคนิค  การประเมิน  รูปแบบ สื่อหลักการ ขั้นตอน

งานที่ได้รับมอบหมาย
-ให้นักศึกษาจับคู่และไปสัมภาษณ์โดยการตั้งคำถามถามเด็กพร้อมวีดีโอ ส่งสัปดาห์หน้าพร้อมรายงานหน้าห้อง

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1
8  ธันวาคม 2554

-วันนี้ไม่มีมีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดประชุม
-งานอาจารย์สั่งสัปดาห์หน้าอาจารย์ให้เตรียมต้นดาวเรืองมากลุ่มละ1ต้น